สพป.สกลนคร เขต 1 ร่วมขับเคลื่อนงาน “ธวัชบุรีโมเดล” น้อมนำพระราชปณิธานฯ ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข ตั้งเป้า 4 เดือน สกลนครปลอดยาเสพติด

สพป.สกลนคร เขต 1 ร่วมขับเคลื่อนงาน “ธวัชบุรีโมเดล” น้อมนำพระราชปณิธานฯ ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข ตั้งเป้า 4 เดือน สกลนครปลอดยาเสพติด
.
วันที่ 18 พฤศจิกายน 2567 ดร.สท้าน วารี ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 มอบหมายให้ ดร.นันท์ปภัทร บรรณ์ติเจริญโชติ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 และนางอรัญญา แสนสีแก้ว ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา เข้าประชุมคณะกรรมการศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดสกลนคร (ศอ.ปส.จ.สกลนคร) เพื่อร่วมแก้ไขปัญหายาเสพติด ตามรูปแบบ “ธวัชบุรีโมเดล” น้อมนำพระราชปณิธานฯ ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข แก้ไขในสิ่งผิด สืบสานในพระราชปณิธาน ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นแนวทางปฏิบัติ โดยมีนายชูศักดิ์ รู้ยิ่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร เป็นประธานในการประชุม ณ ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดสกลนคร อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร
.
ทั้งนี้ การแก้ไขปัญหายาเสพติด ตามรูปแบบ “ธวัชบุรีโมเดล” จะดำเนินการขยายผลในพื้นที่ต้นแบบนำร่อง 10 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ อุทัยธานี ปทุมธานี ประจวบคีรีขันธ์ สกลนคร นครพนม ระยอง นครศรีธรรมราช ตรัง และนราธิวาส โดยจังหวัดสกลนครได้กำหนดพื้นที่อำเภอเมืองสกลนคร เป็นพื้นที่ไข่แดงเพื่อดำเนินการตามแนวทาง “ธวัชบุรีโมเดล” ซึ่งมีทั้งหมด 16 ตำบล 173 หมู่บ้าน 52 ชุมชน กำหนดให้อำเภอที่เป็นเขตรอยต่อเป็นพื้นที่ไข่ขาว และอำเภออื่น ๆ เป็นพื้นที่กระทะ ดำเนินการร่วมกันทั้ง 18 อำเภอ ในการปราบปราม ปิดล้อม ตรวจค้นเครือข่ายผู้ค้ารายย่อยและรายใหญ่ในพื้นที่ ขยายผลด้วยการใช้มาตรการทางกฎหมายและทรัพย์สิน เพื่อตัดวงจรยาเสพติด X-Ray ชุมชน จัดทำระบบในการติดตามดูแล ช่วยเหลือ และเฝ้าระวังภายหลังจากที่ผู้ผ่านการบำบัดรักษากลับสู่ชุมชน พร้อมจัดฝึกอาชีพเพื่อคืนคนดีสู่สังคม และจัดให้มีครู D.A.R.E. ลงพื้นที่ให้ความรู้ในโรงเรียน โดยน้อมนำพระราชปณิธานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข แก้ไขในสิ่งผิด สืบสานในพระราชปณิธาน ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นแนวทางในการปฏิบัติ ตั้งเป้าหมาย ภายใน 4 เดือน พื้นที่ 10 จังหวัดนำร่อง จะต้องเป็นจังหวัดที่ปลอดยาเสพติด ปลอดผู้เสพ ปลอดผู้ค้า ผู้ที่ผ่านการบำบัด มีอาชีพ มีรายได้ เด็กนักเรียน ครอบครัว และชุมชน มีภูมิคุ้มกันยาเสพติด
.
ภาพและข่าวโดย กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา
Scroll to Top